เค้าโครงโครงงาน



 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
รายวิชา 30253
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์)
ปีการศึกษา
 2556
----------------------------------------------------
1. ชื่อโครงงาน   สื่อการทำอาหาร ภาคอีสาน

2. ประเภทของโครงงาน  (
เลือก 1 โครงงาน)
                 
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
                 
โครงงานพัฒนาเครื่องมือ
                 
โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี
                 โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน
                 
โครงงานพัฒนาเกม
3. ชื่อ สกุล  ผู้เสนอโครงงาน  
               
นางสาววิธิยา        บุนนท์                   ชั้นม.6/5               เลขที่ 18
                นางสาวธิติยา       วงศ์ชัยชาญ           ชั้นม.6/5               เลขที่ 22
                นางสาวณัฐนิชา  วิงวอน                    ชั้นม.6/5               เลขที่ 25               
4. ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงาน
                นางสาวดรุณี  บุญวงค์
5. ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงานร่วม (ถ้ามี)
               
-



6. แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
                ประไทยมีวัฒนธรรมการกินที่หลากหลาย โดยอาหารแต่ละพื้นที่มาจากสภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยที่แตต่างกันออกไป แต่ในประเทศไทยพื้นที่ส่วนใหญ่ ที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำคลองหลายสายไหลผ่าน จึงเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวชั้นเลิศแห่งหนึ่งของโลก ชีวิตคนไทยในอดีตล้วนผูกพันกับสายน้ำ อีกทั้งยังมี ชายฝั่งทะเลเหยียดยาวทั้งด้านอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน อันเป็นแหล่งอาหารประเภทปลานานาชนิด ซึ่งเป็นที่มาของคำพังเพยเปรียบเปรยถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารการกินของไทยว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ปัจจุบันอาหารของประเทศไทยแบ่งออกได้เป็น 4 ภาค คือ ภาคกลาง,ภาคเหนือ,ภาคอีสาน,ภาคใต้
                ภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นเขตที่ราบสูง ค่อนข้างแห้งแล้งและกันดารคนอีกสารมักจะรับประทานผักที่มาจากธรรมชาติ ส่วนเนื้อสัตว์จะเอามาจากการเลี้ยงไว้ รสชาติอาหารจะเป็นรสค่อนข้างจัด ไม่นิยมหวานกับเปรี้ยวเกินไป คนอีสานจะรับประทานข้าวเหนียวเป็นหลักและนอกจากนี้คนอีสานยังมีเครื่องปรุงที่ค่อนข้างนิยมกันและเป็นที่รู้จจักกันดีนั้นก็คือ “ปลาร้า” นี้คือเครื่องปรุงที่มักจะประกอบอยู่ในอาหารทางภาคอีสาน และนอกจากนี้ยังแมลงต่างๆมากมายที่เป็นที่นิยม
                ในปัจจุบันคนรุ่นใหม่อาจจะแยกอาหารของแต่ละภาคไม่ออกและอาจจะลืมวัฒนธรรมการกินของไทยไปเลยก็ได้ ตั้งแต่สังคมไทยติดต่อกับต่างประเทศ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรมต่าง  รวมทั้งด้านอาหารการกิน โดยได้รับรูปแบบอาหารบางชนิดมาปรับปรุง ดัดแปลงเป็นรสชาติแบบไทย ดังนั้นพวกเราเลยยกตัวอย่างอาหารมาภาคหนึ่งเพื่อสืบสานวัฒนธรรมการกินของไทยเราเอาไว้





7. วัตถุประสงค์   
     1.เพื่อเป็นสื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการทำอาหาร
     2.เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมเรื่องอาหาร

8. หลักการและทฤษฎี
ในการจัดทาโครงงานคอมพิวเตอร์ พัฒนาสื่อการทำอาหาร ให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารแต่ละภาค คณะผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูล เอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
2.1 อาหารภาคอีสาน
2.2 การผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์
2.1 อาหารภาคอีสาน
                สภาพภูมิศาสตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานมีผลต่ออาหารการกินของคนท้องถิ่น อย่างมาก เนื่องจากพื้นที่บางแห่งแห้งแล้ง วัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารซึ่งหาได้ตามธรรมชาติส่วนใหญ่ ได้แก่ ปลา แมลงบางชนิด พืชผักต่าง ๆ การนำวิธีการถนอมอาหารมาใช้เพื่อรักษาอาหารไว้กินนาน ๆ จึงเป็นส่วนสำคัญในการดำรงชีพของคนอีสาน 
        ชาวอีสานจะมีข้าวเหนียวนึ่งเป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับภาคเหนือ เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงอาหาร ได้แก่ สัตว์ที่หามาได้ เช่น กบ เขียด แย้ แมลงต่าง ๆ ที่มาของรสชาติอาหารอีสาน เช่น รสเค็มได้จากปลาร้า รสเผ็ดได้จากพริกสดและพริกแห้ง  รสเปรี้ยวได้จากมะกอก ส้มมะขาม และมดแดง ในอดีตคนอีสานนิยมหมักปลาร้าไว้กินเองเพราะมีปลาอุดมสมบูรณ์ ประกอบกับเป็นแหล่งเกลือสินเธาว์ ทำให้การทำปลาร้าเป็นที่แพร่หลายมาก จากปลาร้าพื้นบ้านอีสานได้มีการพัฒนาทั้งวิธีการทำและรสชาติ จนกลายเป็นตำรับปลาร้าที่ส่งขายต่างประเทศในปัจจุบัน
                เสน่ห์อาหารพื้นบ้านอีสานอยู่ที่รูปแบบการปรุง วัตถุดิบ เครื่องปรุงรสชาติ ปลาร้าที่นำมา ผสมผสานกันอย่างกลมกลืน สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมอาหารของคนอีสานอันเป็นลักษณะเฉพาะถิ่น เป็นสำรับอาหารที่คนทั่วไปยอมรับในความอร่อยและอุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ

2.2 การผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์
                Ulead Video Studio 11 เป็นโปรแกรมตัดต่อวีดีโอที่มีการใช้งานไม่ยากจนเกินไป แม้ผู้ที่เริ่มใช้งานก็ สามารถที่จะสร้างวีดีโอได้เหมือนกับผู้ที่มีประสบการณ์ตัดต่อวีดีโอมานาน โปรแกรมนี้มีเครื่องมือต่างๆ สำหรับตัดต่อวีดีโออย่างครบถ้วน เริ่มตั้งแต่จับภาพจากกล้องเข้าคอมพิวเตอร์ ตัดต่อวีดีโอ ใส่เอ็ฟเฟ็กต์ต่างๆ แทรกดนตรีประกอบ แทรกคำบรรยาย ไปจนถึงบันทึกวีดีโอที่ตัดต่อกลับลงเทป, VCD, DVD หรือแม้กระทั่งเผยแพร่ผลงานทางเว็บ
โปรแกรม Ulead มีการทำงานเป็นขั้นตอนที่ง่าย ตั้งแต่จับภาพ ตัดต่อไปจนถึงเขียนลงแผ่น นอกจากนี้แล้วโปรแกรมยังมีเอ็ฟเฟ็กต์ต่างๆ อีกมากมาย ไตเติ้ลสำเร็จรูปแบบมืออาชีพ รวมทั้งยังมีเครื่องมือที่ใช้สำหรับสร้างซาวนด์แทร็คอย่างง่ายๆ อีกด้วย
ในการสร้างวีดีโอนั้น เริ่มแรกจับภาพวีดีโอจากกล้องหรือว่าดึงไฟล์วีดีโอจากแผ่น VCD/DVD เข้ามาจากนั้นก็ตัดแต่งวีดีโอที่จับภาพมา เรียงลำดับเหตุการณ์ ใส่ทรานสิชั่น (transtion - เอ็ฟเฟ็กต์ที่ใส่ระหว่างคลิปวีดีโอทำให้การเปลี่ยนคลิปวีดีโอจากคลิปหนึ่งไปยังอีกคลิปหนึ่งน่าดูยิ่งขึ้น) ทำภาพซ้อนภาพ ใส่ไตเติ้ล ใส่คำบรรยายแทรกดนตรีประกอบ ซึ่งส่วนต่างๆ เหล่านี้จะแยกแทร็คกัน การทำงานในแต่ละแทร็คจะไม่มีผลกระทบกับแทร็คอื่นๆ เมื่อทำเสร็จแล้วขั้นตอนสุดท้ายก็คือ การเขียนวีดีโอลงแผ่น
การตัดต่อใน Ulead นั้น จะสร้างเป็นไฟล์ project ขึ้นมา (.VSP) ซึ่งไฟล์นี้จะเก็บข้อมูลต่างๆ ไว้ หากว่าทำงานยังไม่เสร็จก็สามารถเปิดเพื่อทำงานต่อในภายหลังได้ ไฟล์นี้จะมีขนาดเล็ก การตัดต่อวีดีโอนี้ แม้จะตัดต่ออย่างไรในวีดีโอ ก็จะไม่มีผลกระทบต่อไฟล์ต้นฉบับ ข้อมูลการตัดต่อต่างๆ จะบันทึกอยู่ในไฟล์ project ทั้งหมด แต่เมื่อมีการสร้างวีดีโอที่ได้จากการตัดต่อ โปรแกรมอ่านข้อมูลจากต้นฉบับตามข้อมูลที่อ้างอิงในไฟล์ project นี้
      การติดตั้งการ์ด
ในที่นี้เสนอการติดตั้งเฉพาะการ์ด Firewire หรือ IEEE-1394 เป็นการ์ดสำหรับดึงภาพวีดีโอจากกล้องผ่านพอร์ต DV หรือ i-Link ของกล้อง DV หรือ Digital 8 มาบันทึกเป็นไฟล์ในเครื่อง ก่อนนำไปตัดต่อแล้วแปลง เขียนลงแผ่น CD/DVDชุดของการ์ด Firewire ประกอบด้วย      ตัวการ์ด สายเคเบิ้ลและCD ซอฟท์แวร์สำหรับใช้งานตัดต่อ การ์ดนี้มีราคาตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป
การ์ด Firewire หรือการ์ด IEEE-1394  ก่อนการติดตั้งการ์ดลงในเครื่องนั้น ให้ดึงปลั๊กไฟออกจากเครื่องก่อน เปิดฝาเคสออก และดึงแผ่นเหล็กด้านหลังออก  เสียบการ์ด Firewire ลงไปพร้อมกับขั้นสกรูให้แน่น ปิดฝาเคสตามเดิม  เสียบปลายสายเคเบิ้ลด้าน 6 pin เข้ากับการ์ดด้านหลังคอมพิวเตอร์ส่วนปลายสาย 4 pin เสียบเข้ากับกล้อง ในช่อง DV หรือ i-Link เท่านี้ก็พร้อมแล้วสำหรับการดึงภาพวีดีโอจากกล้องมาบันทึกเป็นไฟล์คอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการตัดต่อ Ulead นั้นก็สามารถที่จะจับภาพแบบ analog ได้เช่นกัน ในกรณีนี้ คุณจะต้องหาการ์ดจับภาพเช่นการ์ดรับ โทรทัศน์ที่เป็นแบบ analog มาใช้งาน การใช้งานนั้นก็เหมือนกับการ firewire



















 9. ขอบเขตของโครงงาน   
                สร้างสื่อวีดีทัศน์ เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอาหารภาคอีสาน โดยใช้โปรแกรม ulead videostudio 11 ในการตัดต่อวีดีทัศน์ โดยโปรแกรมนี้มี Effect อยู่ในโปรแกรมอยู่แล้ว
               
10. ขั้นตอนและแผนดำเนินงาน
ที่
ขั้นตอนการดำเนินงาน
ระยะเวลาดำเนินงาน
เดือนมิถุนายน
เดือนกรกฎาคม
เดือนสิงหาคม
สัปดาห์ที่
สัปดาห์ที่
สัปดาห์ที่
1
2
3
4
1
2
3
4
1
2
3
4
1
คิดหัวข้อโครงงาน
P











2
ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล

P
P









3
จัดทำโครงร่างเพื่อนำเสนอ



P








4
ปฏิบัติการจัดทำโครงงาน




P
P






5
นำเสนอรายงานความก้าวหน้า
ของโครงงานครั้งที่
1





P
P





6
นำเสนอรายงานความก้าวหน้า
ของโครงงานครั้งที่
2






P
P
P



7
ปรับปรุง ทดสอบ









P


8
จัดทำเอกสารรายงานโครงงาน










P

9
ประเมินผลงาน










P

10
นำเสนอโครงงานหน้าชั้นเรียน











P

10. สถานที่ดำเนินงาน
               
บ้านของนางสาวธิติยา วงศ์ชัยชาญ เลขที่33/212 ม.4 ต.ทับมา อ.เมือง จ.ระยอง 21000

11. งบประมาณ
                ประมาณ 500 – 700 บาท

12. ผลที่คาดว่าจะได้รับ   
                1. ผู้สนใจมีความเข้าใจเกี่ยวกับอาหาร
                2. ได้รับความรู้เกี่ยวกับการสร้างสื่อวีดีทัศน์
                3. ได้นาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีคุณค่าและทำให้เกิดประโยชน์

13. เอกสารอ้างอิง
อาหารภาคอีสาน.สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2556 จากเว็บไซต์:                 http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/others/wilaiporn/__81.html
การใช้ ulead videostudio 11.สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2556 จากเว็บไซต์:      http://www.thaigoodview.com/node/92343
               
  ลงชื่อ……………………..          ลงชื่อ………………………            ลงชื่อ……………………...
( นางสาว วิธิยา บุนนท์   )            ( นางสาว ธิติยา วงศ์ชัยชาญ )            ( นางสาว ณัฐนิชา  วิงวอน )
    ผู้เสนอโครงงาน                               ผู้เสนอโครงงาน                                 ผู้เสนอโครงงาน

                                                                                              ลงชื่อ.............................................
                                                                                                           (นางสาวดรุณี  บุญวงค์)
                                                                                                             ครูที่ปรึกษาโครงงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น